วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558

Lesson 2




Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 

วิเคราะห์วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของวิชานี้ คือ 1.การจัดประสบการณ์
                                         2.วิทยาศาสตร์
                                         3.ปฐมวัย
วิทยาศาสตร์มี สาระ คือ กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
                        ทักษะ คือ การจำแนก , การศื่อความหมาย ,ลงความเห็น ,คุณสมบัติ เช่น หอยทากเคลื่อนที่ช้าทำให้ใช้เวลานาน
การบูรณาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ แม้วิชาจะต่างกันแแต่เราสามารถนำมาบูรณาการกันได้ให้มันสอดคล้องกลมกลืนกันได้และเด็กจะได้ใช้ภาษาในการอธิบายถึงกิจกรรมที่ได้ทำ
     ถ้าเราจะจัดประสบการณ์เราต้องสร้างหน่วย มีหลักเกณฑ์ในการเลือกหน่วยดังนี้
1.สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
2.สิ่งที่เด็กสนใจ
3.สิ่งที่มีผลกระทบ
การบูรณาการสามารถเรียนได้โดยผ่านการทำกิจกรรม เครื่องมือในการเรียนคือ ภาษา,คณิตศาสตร์
ทำไมเราต้องเรียนวิทยาศาสตร์?
- ทุกอย่างที่อยู่รอบๆตัวของเราล้วนมีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงต้องเรียนรู้
- นำเอาสิ่งที่เราเรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต
- เข้าใจและรู้จักการเปลี่ยนแปลง
- รู้เท่าทันถึงสาเหตุและวิธีคลีคลายปัญหาได้
- มีเหตุผล
- มีการพัฒนา
แต่ละคนมีประสบการณืที่แตกต่ากันไป เมื่อไหร่ที่ลงมือกระทำคือ ทักษะ และผลที่ออกมาคือ สาระ เช่น
การเขียนหนังสือ คือ ทักษะ สิ่งที่เขียนลงไปเป็นเนื้อหานั้นคือ สาระ

พัฒนาการทางสติปัญญา (Coggnitive Development)
นักทฤษฏีที่ให้คำอธิบายมี เพียเจท์กับบรูเนอร์
พัฒนาการทางสติปัญญาคือการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการไปตามลำดับขั้นตอนทางภาษาและการคิด
พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (Interrection) กับสิ่งแวดล้อม  ผลการปฏิสัมพันธ์ทำให้เด็กรู้จัก "ตัวตน" เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า การเอาตัวรอดสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา

กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interrection )มี 2 กระบวนการ
- กระบวนการดูดซึม (Assimilation)
เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้ร่วมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา (Cognitve Structure) ถ้าอยากให้เด็กมีการซึมซับการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเยอะๆเราจะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กลงมือกระทำ สิ่งที่เด็กกระทำจะไปเข้าร่วมกันกับโครงสร้างอันเก่าที่มีอยู่ให้เกิดความรู้ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การหยดสีลงบนกระดาษ ใช้สีสองสีหยุดลงไปเมื่อมีการผสมผสานของสีเกิดขึ้นทำให้เราได้รู้จักกับสีใหม่ เหมือนกันกับสิ่งที่เราพบเจอเมื่อเรามีความรู้เดิมอยู่แล้วแต่เราพบเจอประสบการณใหม่เพิ่มทำให้เราเกิดการเรียนรู้ของสิ่งใหม่ขึ้น
- กระบวนการปรับโครงสร้าง (Accommotion)
การเปลี่ยนโครงสร้างความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ก็จะทำให้เกิกประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้น





สรุป การที่เราปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็เพื่อความอยู่รอดของตัวเรานั้นเอง


ทฤษฏีด้านการรู้คิดของเพียเจท์
ขั้นที่1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) ระยะการพัฒนาทารก คือ การซึมซับดูดซึม
ขั้นที่2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage)
ระยะที่1 อายุ 2-4 ปีมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรับรู้ตามที่ตาเห็น
ระยะที่2 อายุ 4-7 ปีมีปฏิพันธ์มากขึ้นกับสิ่งแวดล้อมเริ่มคิดเชิงเหตุผลมากขึ้น
ระยะที่3 อายุ 7-11 ปีขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรมมากขึ้นคิดอย่างมีเหตุผลเริ่มแก้ปัญหาได้มากขึ้น

การนำทฤษฏีไปใช้จากแนวคิดของเพียเจท์
เด็กในวัยนี้สำคัญทำให้เราเกิดความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย เด็กวัยนี้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ถ้าเด็กมีประสบการณ์ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พฤติกรรมยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางก็จะลดลงรู้จักให้และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นเรียกว่าเป็นการปรับตัวให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
เราต้องจัดประสบการณ์ตามความสามารถที่เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ประสบการณ์ที่เด็กได้รับต้องไปพัฒนาโครงสร้างของสมอง


Skill (ทักษะ):
     ระดมความคิด ,สังเคราะเนื้อหาให้เป็นคำตอบเดียวกัน ,การใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยง

Adoption (การนำไปใช้):
     นำความรู้ที่ได้จากทฤษฏีไปใช้ในการพัฒนาความรู้ในลำดับต่อๆปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน):
     บรรยาย ,สื่อPowerpoint ,กราระดมความคิด ,กรณีตัวอย่าง

Evaluation (การประเมิน):
     ตัวเอง ตั้งใจเรียนและช่วยออกความคิดเห็นระดมความคิดกับเพื่อนๆในชั้นเรียน
     เพื่อน ให้ความร่วมมือในการระดมความคิดได้ดี แต่ก็ยังมีเพื่อนบ้างคนที่ไม่ออกความคิดเห็นเลย
     อาจารย์ ให้คำบรรยายและยกกรณีตัวอย่างออกมาได้ชัดเจนจนทำให้เกิดความเข้าใจ
     ห้องเรียน อินเตอร์เน็ตมีปัญหาขัดข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น