วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558

Lesson 14


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 

ปฏิบัติตามแผนการสอน Cooking


มี 3 กลุ่มได้แก่ หวานเย็น , ขนมโค , ข้าวจี มีขั้นตอนการทำดังนี้



หวายเย็น

ถ้าเราอยากกินหวานเย็นเราจำทำอย่างไร?







เตรียม
- น้ำหวาน , น้ำอัดลม 
- น้ำแข็ง
- เกลือเม็ดใหญ่
- กะละมังพลาสติก
- กะละมังสแตนเลต
- ไม้พาย

ขั้นตอนการทำ
นำน้ำแข็งใส่ลงไปในกะละมังพลาสติกแล้วเอาเกลือใส่โรยไปให้ทั่วจากนั้นนำกะละมังสแตนเลตตั้งตรงกลางแล้วกดกะละมังสแตนเลตให้ก้นกะละมังฝังลงไปในน้ำแข็งจากนั้นก็เติมนำ้หวานใส่ไปในกะละมังสแตนเลตแล้วใช้ไม้พายคนไปเลื่อยๆจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

เกล็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ >> ที่น้ำหวานเปลี่ยนสถานะเป็นเกล็ดน้ำแข็งได้เพราะการที่นำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งจากที่เย็นอยู่แล้วจะยิ่งเย็นมากขึ้นเกิดจากการถ่ายเทความร้อนของน้ำแข็งไปให้เกลือเพื่อใช้ในการละลาย ทำให้น้ำแข็งที่อยู่ในกะละมังมีอุณภูมิ 0 องศา แค่นี้เราก็สามารถทำหวานเย็นได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งตู้เย็นเลยละค่ะ

ขนมโค







ขั้นตอนการทำ
นำแป้งมาใส่สีผสมอาหารแล้วนวดให้เข้ากันเมื่อปแป้งเข้าที่แล้วให้แบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ ปั้นให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นก้กอดให้แบนๆ เพื่อที่จะใส่ไส้ตรงกลางแล้วก็ทำให้แป้งห่อไส้ปั่นให้เป็นกลมๆอีกครั้งจึงน้ำไปต้มในน้ำที่เดือด ถ้าแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำให้ตักขึ้นมาคลุกกับมะพร้าวขูดได้เลย

ข้าวจี่



ขั้นตอนการทำ
นำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไม้มาเสียบจากนั้นก็เอาไปปิ้งจนข้าวเริ่มเปลี่ยนสีแล้วถึงจะนำไปทาไข่แล้วนำมาปิ้งต่อจนเหลือง สามารถใส่หมูหยองเป็นไส้ตั้งแต่ขั้นตอนการปั่นเลยก็ได้คะ


Skill (ทักษะ) :
กระบวนการสอนทางวิทยาศาสตร์
การตั้งคำถาม
การสังเกต
การสาธิตและลงมือปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน

Adoption (การนำไปใช้) :
ใช้เป็นแนวทางในการมอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน):
อธิบายได้ละเอียดมักจะมีคำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตัวเองออกมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารจะสอน

Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง ตั้งใจทำกิจกรรมเตรียมอุปกรณ์ที่ได้รับมอบหมายมาพร้อม
เพื่อน  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
อาจารย์ ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติได้ดี
ห้องเรียน พร้อมสำหรบการทำกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น