วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

Lesson 7



Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) :


 ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้

ชื่อ ดอกไม้เริงลม

อุปกรณ์

กระดาษ ,ลวด ,หลอด ,ลูกปัด



ขั้นตอนการทำ

1.ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วคลี่ออกจะได้รอยกากบาท


2.ตัดตามรอยพับขึ้นมา 3 ใน 4 ส่วน


3.นำรวดทิ่มรูตรงกลางขึ้นมา



4.ใส่ลูกปัดลงไปหนึ่งลูก



5.ค่อยๆ จับปลายกระดาษจิ้มผ่านลวดตรงกลางไล่ไปจนครบทั้งสี่ด้าน



6.จากนั้นใส่หลอดที่ตัดมาเล็กๆ ตามด้วยลูกปัดแล้วดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุด


7.ใส่ลูกปัดด้านหลังหนึ่งเม็ด


8.ใส่หลอดแล้วเก็บปลายลวดที่เหลือโดยการพันรอบหลอดเป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อยค่ะ

"ดอกไม้เริงลม"


วิธีเล่น
           ถือดอกไม้เริงลมไว้ข้างหน้า โดยหันเข้าหาลมแล้ววิ่ง ดอกไม้จะได้หมุนได้ หรือเอาดอกไม้ไปจอพัดลมก็ได้เช่นกัน

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

          ดอกไม้เริงลม คือ กังหันลม จะหมุนได้เมื่อมีกระแสลมพัดมาปะทะกับใบพัดกังหัน ทำให้เกิดการหมุนรอบแกนขึ้น  ลม เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ


Skill (ทักษะ) : งานฝีมือในการประดิษฐ์
Adoption (การนำไปใช้) : นำไปใช้สอนวิทยาศษสตร์สอดแทรกไปกับการเล่นของเล่นเพื่อที่เด็กได้เข้าใจในเรื่องวิทยศาสตร์ได้มากขึ้นเห็นภาพจริง
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ใช้คำถามให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
Evaluation  (การประเมิน) : 
ตัวเอง เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมสื่อของเล่นมาเรียบร้อยในการพรีเซ้นงาน
เพื่อน ตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอผลงานดี
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา พูดจาไพเราะ
ห้องเรียน เรียบร้อยดี

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึการเรียนประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

Lesson 6


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 



 การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย
สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของสมองซีกซ้ายของร่างกาย โดยสมองซีกขวาจะทำงานในในหน้าที่ตามแนวทางที่สร้างสรรค์ จินตนาการทางด้านศิลปะ ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกขวามักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ 
1. ศิลปะแขนงต่าง ๆ 
2. งานที่เกี่ยวกับอารมณ์ขัน
3. การใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไม่สลับซับซ้อน
4. การศึกษาความคิดในเชิงปรัชญา
5. การจัดสวนหรือปรับแต่งต้นไม้ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
6. ความสารถในงานฝีมือ และงานประดิษฐ์
7. งานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ จิตรกร การออกแบบ งานประเภทครีเอทีฟโฆษณา
8. รักการอ่าน การเขียนหนังสือ มีความสามารถแต่งแต้มจินตนาการลงในงานเขียนได้เป็นอย่างดี
9. ประเภทศิลปิน ดารา นักแสดง ซึ่งที่มักต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งทางร่างกายและคำพูด


สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของสมองซีกขวาของร่างกาย โดยสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออก และทำหน้าที่ในการคิดอย่างมีสามัญสำนึก เป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกซ้ายมักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. การพูดโน้มน้าวจิตใจคน 
2. การตีความหมายของภาษา
3. การวิเคราะห์เวลาและความเสี่ยง
4. อาชีพที่ต้องใช้การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลข
5. การจัดหมวดหมู่ การแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ
6. ผู้บริหารที่ต้องจัดการวงแผนอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอน
7. งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
8. นักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนและขา
9. อาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ศัลยกรรมแพทย์ วิศวกร


การทำงานของสมองจะทำงานเมื่อมีสิ่งเร้ามาสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เซลล์สมองจะเพิ่มมากขึ้น

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ 
1.มีความแตกต่างกัน
2.มีการเปลี่ยนแปลง
3.มีการปรับตัว
4.มีการพึ่งพาอาศัยกัน
5.มีความสมดุล


บิดาการศึกษาปฐมวัย คือ เปสตาลอซซี่ ( Pestalozzi)





เปสตาลอซซี่ ( Pestalozzi) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่าง 
ปีค.ศ.1746ถึง1827เปสตาลอซซี่เป็นนักการศึกษาชาวอิตาเลี่ยน-สวิสเซอร์แลนด์ซึ่งทฤษฎีทางการศึกษาที่คิดนั้นได้กลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เปสตาลอซซี่ได้รับอิทธิพลด้านความคิดจากรุสโซ เปสตาลอซซี่



การเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
2.การเรียนรู้แบบองค์รวมครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน

สรุปหลักการจัดการศึกษา
   พัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติจริง
- เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กๆ
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.มีระเบียบรอบคอบ
6.ความใจกว้าง

ความสำคัญ
- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้งประสบการณ์

ประโยชน์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้



Skill (ทักษะ) : คิดวิเคราะห์,ระดมความคิด,การเชื่อมโยงความรู้
Adoption (การนำไปใช้) : เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): บรรยาย ,สื่อPowerpoint ,กราระดมความคิด 
Evaluation  (การประเมิน):
ตัวเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและช่วยออกความคิดเห็นระดมความคิดกับเพื่อนๆในชั้นเรียน
เพื่อน ตั้งใจเรียนดีให้ความร่วมมือในการระดมความคิด
อาจารย์ บรรยายและยกตัวอย่างไดเข้าใจ มีการถามเพื่อให้นักศึกษารู้จักการใช้ความคิดของตัวเองออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ห้องเรียน เรียบร้อยดี สะอาด แอร์เย็น

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 01 กันยายน 2558

Lesson 4

เข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
ในหัวข้อ "ทักษะการเรียนรู้ในศตรรษที่ 21"



 Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) :











           การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา  รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น  โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)



Skill (ทักษะ) :การฟังและทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้บรรยายสื่อให้รับรู้
Adoption (การนำไปใช้) : ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัยในศตวรรษที่ 21 
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): บรรยายประกอบสื่อใน Powerpoint
Evaluation  (การประเมิน): สื่อในการบรรยายดูแล้วเข้าใจง่าย อธิบายได้ชัดเจน สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

Lesson 5


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : ขั้นอนุรักษ์ คือ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็นโดยที่เด็กยังใช้เหตุผลไม่ได้แต่ถ้าเด็กได้ลองทำซ้ำทบทวนหลายๆครั้งก็จะเกิดการเปรียบเทียบทำให้เริ่มมีการใช้เหตุผลมากขึ้น
กระบวนการการเรียนรู้
- การดูดซึมของข้อมูลใหม่ที่เด็กได้รับ
- การเชื่อมโยงของข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิม
- การเปลี่ยนแปลงคือการรวมกันของข้อมูลใหม่กับความรู้เดิม
- ทำให้สิ่งที่ได้คือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น




ทฤษฏีของพาฟลอบ เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการวางเงื่อนไข
ทฤษฏีของทอนไดร์ เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการลองผิดลองถูก
ทฤษฏีของอดัมโทมัส เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติของแต่ละคน



กิจกรรม ให้ใช้กระดาษประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่สามารถนำไปสอนเด็กเกี่ยวเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้
ดิฉันทำ "กังหันลม" ใช้สอนในเรื่องของลม


ภาพกังหันกระดาษ


กังหันลม ใช้สอนเด็กในเรื่อง "ลม" สามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้โดยที่ไม่ต้องใช้แรงคนในการเคลื่อนที่ของวัตถุแสดงว่าลมมีการพลักดันให้วัตถุมันเคลื่อนที่  ซึ่งแตกต่างจาก พัด เพราะเราต้องใช้มือในการออกแรงพัดถึงจะเกิดเป็นลมนั้นคือวัตถุทำให้อากาศมันเคลื่อนที่จึงทำให้เกิดเป็นลมออกมา 


ภาพพัดกระดาษ


เรื่องของแสง



 รุ้งกินน้ำ คือ แถบสีสเปกตรัมของแสงจากดวงอาทิตย์(แสงสีขาว)มักจะเกิดขึ้นหลังฝนตก ต้องยืนหันหลังให้ดวงอาทิตย์จึงจะมองเห็นรุ้งกินน้ำเกิดจากแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปในละอองน้ำ แล้วเกิดการหักเหและสะท้อนกลับหมดในละอองน้ำ และกระจายออกมาเป็นสเปกตรัมของแสง
(สเปกตรัมคือแถบสีต่าง ที่เกิดจากแสงขาวผ่านปริซึม มี 7 สีคือ ม่วงคราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง)

การมองเห็นสีของวัตถุ
เมื่อมีแสงขาวมาตกกระทบ วัตถุทึบแสงสีต่างๆ แสงบางสีในแสงขาวจะถูก ตัวสีในวัตถุดูดกลืน ไว้ แสงสีที่เหลือจะสะท้อน มาเข้าในตาเราทำให้เห็นสีของวัตถุ แสงที่สะท้อนออกมามีแสงเดียวหรือหลายสีแต่แสงที่ให้สีของวัตถุมีปริมาณมากที่สุด จะทำให้เราเห็นวัตถุเป็นสีนั้น หรือเห็นเป็นสีผสมของแสงหลายสีนั้น เช่นตัวอย่างการมองเห็นวัตถุสีต่าง ๆ

ตัวสีในใบไม้ ตัวสีในใบไม้ ได้แก่ คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) เป็นตัวสีเขียวซึ่งเป็นสีที่มีมากในใบไม้ มีคุณสมบัติดูดกลืนสีบางสีไว้ และปล่อยสีเขียวออกมามากที่สุด เราจึงเห็นใบไม้เป็นสีเขียว









Skill (ทักษะ) : คิดวิเคราะห์,ระดมความคิด,การเชื่อมโยงความรู้

Adoption (การนำไปใช้) : นำความรู้ที่ได้ไปสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เราต้องมีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่บ้าง แล้วนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาสอนหลักวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับสิ่งใกล้ตัวเด็กมากที่สุดเพื่อเกิดความเข้าใจมากขึ้น

Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตัวเอง มีการยกกรณีตัวอย่างประกอบในการสอน

Evaluation  (การประเมิน):
ตัวเอง คิดประดิษฐ์สื่อในการใช้สอนวิทยาศาสต์ได้คล่องแคล่ว จดบันทึกเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียน
เพื่อน ช่วยเหลือในการออกความคิดเห็นในการทำสื่อ 
อาจารย์ อธิบายประโยชน์จากการที่เราทำสื่อง่ายๆที่ใกล้ตัวเด็กในการใช้สอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ
ห้องเรียน สะอาดเรียนร้อยดี แอร์เย็น