Lesson 5
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : ขั้นอนุรักษ์ คือ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็นโดยที่เด็กยังใช้เหตุผลไม่ได้แต่ถ้าเด็กได้ลองทำซ้ำทบทวนหลายๆครั้งก็จะเกิดการเปรียบเทียบทำให้เริ่มมีการใช้เหตุผลมากขึ้น
กระบวนการการเรียนรู้
- การดูดซึมของข้อมูลใหม่ที่เด็กได้รับ
- การเชื่อมโยงของข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิม
- การเปลี่ยนแปลงคือการรวมกันของข้อมูลใหม่กับความรู้เดิม
- ทำให้สิ่งที่ได้คือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
กิจกรรม ให้ใช้กระดาษประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่สามารถนำไปสอนเด็กเกี่ยวเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้
ดิฉันทำ "กังหันลม" ใช้สอนในเรื่องของลม
กระบวนการการเรียนรู้
- การดูดซึมของข้อมูลใหม่ที่เด็กได้รับ
- การเชื่อมโยงของข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิม
- การเปลี่ยนแปลงคือการรวมกันของข้อมูลใหม่กับความรู้เดิม
- ทำให้สิ่งที่ได้คือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
ทฤษฏีของพาฟลอบ เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการวางเงื่อนไข
ทฤษฏีของทอนไดร์ เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการลองผิดลองถูก
ทฤษฏีของอดัมโทมัส เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติของแต่ละคนกิจกรรม ให้ใช้กระดาษประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่สามารถนำไปสอนเด็กเกี่ยวเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้
ดิฉันทำ "กังหันลม" ใช้สอนในเรื่องของลม
ภาพกังหันกระดาษ
กังหันลม ใช้สอนเด็กในเรื่อง "ลม" สามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้โดยที่ไม่ต้องใช้แรงคนในการเคลื่อนที่ของวัตถุแสดงว่าลมมีการพลักดันให้วัตถุมันเคลื่อนที่ ซึ่งแตกต่างจาก พัด เพราะเราต้องใช้มือในการออกแรงพัดถึงจะเกิดเป็นลมนั้นคือวัตถุทำให้อากาศมันเคลื่อนที่จึงทำให้เกิดเป็นลมออกมา
ภาพพัดกระดาษ
เรื่องของแสง
รุ้งกินน้ำ คือ แถบสีสเปกตรัมของแสงจากดวงอาทิตย์(แสงสีขาว)มักจะเกิดขึ้นหลังฝนตก ต้องยืนหันหลังให้ดวงอาทิตย์จึงจะมองเห็นรุ้งกินน้ำเกิดจากแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปในละอองน้ำ แล้วเกิดการหักเหและสะท้อนกลับหมดในละอองน้ำ และกระจายออกมาเป็นสเปกตรัมของแสง
(สเปกตรัมคือแถบสีต่าง ที่เกิดจากแสงขาวผ่านปริซึม มี 7 สีคือ ม่วงคราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง)
การมองเห็นสีของวัตถุ
เมื่อมีแสงขาวมาตกกระทบ วัตถุทึบแสงสีต่างๆ แสงบางสีในแสงขาวจะถูก ตัวสีในวัตถุดูดกลืน ไว้ แสงสีที่เหลือจะสะท้อน มาเข้าในตาเราทำให้เห็นสีของวัตถุ แสงที่สะท้อนออกมามีแสงเดียวหรือหลายสีแต่แสงที่ให้สีของวัตถุมีปริมาณมากที่สุด จะทำให้เราเห็นวัตถุเป็นสีนั้น หรือเห็นเป็นสีผสมของแสงหลายสีนั้น เช่นตัวอย่างการมองเห็นวัตถุสีต่าง ๆ
ตัวสีในใบไม้ ตัวสีในใบไม้ ได้แก่ คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) เป็นตัวสีเขียวซึ่งเป็นสีที่มีมากในใบไม้ มีคุณสมบัติดูดกลืนสีบางสีไว้ และปล่อยสีเขียวออกมามากที่สุด เราจึงเห็นใบไม้เป็นสีเขียว
Skill (ทักษะ) : คิดวิเคราะห์,ระดมความคิด,การเชื่อมโยงความรู้
Adoption (การนำไปใช้) : นำความรู้ที่ได้ไปสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เราต้องมีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่บ้าง แล้วนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาสอนหลักวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับสิ่งใกล้ตัวเด็กมากที่สุดเพื่อเกิดความเข้าใจมากขึ้น
Teaching Techniques (เทคนิคการสอน): ให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตัวเอง มีการยกกรณีตัวอย่างประกอบในการสอน
Evaluation (การประเมิน):
ตัวเอง คิดประดิษฐ์สื่อในการใช้สอนวิทยาศาสต์ได้คล่องแคล่ว จดบันทึกเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียน
เพื่อน ช่วยเหลือในการออกความคิดเห็นในการทำสื่อ
อาจารย์ อธิบายประโยชน์จากการที่เราทำสื่อง่ายๆที่ใกล้ตัวเด็กในการใช้สอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ
ห้องเรียน สะอาดเรียนร้อยดี แอร์เย็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น