วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

Lesson 15


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) :  นำเสนอ
บทความเรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์จำเป็นหรือไม่ โดยนางสาวรัชดา  เทพเรียน
บทความเรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนางสาวเปรมมิกา ชุติมาสวรรค์
บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยนางสาวชนาภา คปัญญา
นำเสนอวิจัยวิจัยเรื่อง  การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยนางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์

Skill (ทักษะ) :
- การนำเสนองาน

- การสรุป
Adoption (การนำไปใช้) : เป็นแนวความรู้ทางวิทยาศาสตร์
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): คิดวิเคราะห์ สังเคาระห์
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
เพื่อน  ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
อาจารย์ ขยายความสำคัญของสิ่งที่เพื่อนนำเสนอได้เข้าใจง่ายขึ้น
ห้องเรียน สะอาดเรียบร้อยดี

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558

Lesson 14


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 

ปฏิบัติตามแผนการสอน Cooking


มี 3 กลุ่มได้แก่ หวานเย็น , ขนมโค , ข้าวจี มีขั้นตอนการทำดังนี้



หวายเย็น

ถ้าเราอยากกินหวานเย็นเราจำทำอย่างไร?







เตรียม
- น้ำหวาน , น้ำอัดลม 
- น้ำแข็ง
- เกลือเม็ดใหญ่
- กะละมังพลาสติก
- กะละมังสแตนเลต
- ไม้พาย

ขั้นตอนการทำ
นำน้ำแข็งใส่ลงไปในกะละมังพลาสติกแล้วเอาเกลือใส่โรยไปให้ทั่วจากนั้นนำกะละมังสแตนเลตตั้งตรงกลางแล้วกดกะละมังสแตนเลตให้ก้นกะละมังฝังลงไปในน้ำแข็งจากนั้นก็เติมนำ้หวานใส่ไปในกะละมังสแตนเลตแล้วใช้ไม้พายคนไปเลื่อยๆจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

เกล็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ >> ที่น้ำหวานเปลี่ยนสถานะเป็นเกล็ดน้ำแข็งได้เพราะการที่นำเกลือไปใส่ในน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งจากที่เย็นอยู่แล้วจะยิ่งเย็นมากขึ้นเกิดจากการถ่ายเทความร้อนของน้ำแข็งไปให้เกลือเพื่อใช้ในการละลาย ทำให้น้ำแข็งที่อยู่ในกะละมังมีอุณภูมิ 0 องศา แค่นี้เราก็สามารถทำหวานเย็นได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งตู้เย็นเลยละค่ะ

ขนมโค







ขั้นตอนการทำ
นำแป้งมาใส่สีผสมอาหารแล้วนวดให้เข้ากันเมื่อปแป้งเข้าที่แล้วให้แบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ ปั้นให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นก้กอดให้แบนๆ เพื่อที่จะใส่ไส้ตรงกลางแล้วก็ทำให้แป้งห่อไส้ปั่นให้เป็นกลมๆอีกครั้งจึงน้ำไปต้มในน้ำที่เดือด ถ้าแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำให้ตักขึ้นมาคลุกกับมะพร้าวขูดได้เลย

ข้าวจี่



ขั้นตอนการทำ
นำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไม้มาเสียบจากนั้นก็เอาไปปิ้งจนข้าวเริ่มเปลี่ยนสีแล้วถึงจะนำไปทาไข่แล้วนำมาปิ้งต่อจนเหลือง สามารถใส่หมูหยองเป็นไส้ตั้งแต่ขั้นตอนการปั่นเลยก็ได้คะ


Skill (ทักษะ) :
กระบวนการสอนทางวิทยาศาสตร์
การตั้งคำถาม
การสังเกต
การสาธิตและลงมือปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน

Adoption (การนำไปใช้) :
ใช้เป็นแนวทางในการมอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน):
อธิบายได้ละเอียดมักจะมีคำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้แสดงความคิดของตัวเองออกมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารจะสอน

Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง ตั้งใจทำกิจกรรมเตรียมอุปกรณ์ที่ได้รับมอบหมายมาพร้อม
เพื่อน  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
อาจารย์ ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติได้ดี
ห้องเรียน พร้อมสำหรบการทำกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 3 พฤศจิกายน 2558

Lesson 12



Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 
- ดูแผนของเพื่อนกลุ่มอื่นแล้วนำมาเปรียบเทียบกับของกลุ่มเราเอง ถ้าอันไหนที่เพื่อนมีแต่เราไม่มีให้เพิ่มลงไป
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์


Skill (ทักษะ) : การวิเคราะห์,สังเคราะห์,การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม
Adoption (การนำไปใช้) : นำไปใช้เป็นทักษะในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): การแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้อง
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง มีการจดบันทึกในการเรียน
เพื่อน ให้ความร่วมมือในการฟังคำแนะนำของอาจารย์
อาจารย์ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนใช้คำพูดที่เข้าใจได้ง่าย
ห้องเรียน สะอาดเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2558

Lesson 11


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 
กิจกรรมที่ 1 เรื่องน้ำ
- พับกระดาษให้ตัดเป็นกลีบดอกไม้ระบายสีกลีบทั้ง 4 กลีบ แล้วพับเก็บกลับอย่างไรก็ได้
- เพื่อนจดสังเกตการทำงานของเพื่อนแล้วบันทึก
- นำดอกไม้ที่พับไว้ไปวางในน้ำพร้อมกันกับสมาชิกในกลุ่มแล้วคอยสังเกต
- ปัจจัยที่ทำให้กลับดอกไม้กางออกได้เร็ว คือ "น้ำ"  จะซึมซับไปสู้ผิวกระดาษที่มีพื้นที่ว่าง น้ำซึมทำให้สีละลายกระจายออกแล้วเกิดการผสมสีขึ้น มีแรงตึงผวขิงน้ำทำให้กระดาษไม่จม


กิจกรรมที่ 2 ทดลองโดยใช้ขวดน้ำ




- ระดับบนสุดแรงดันน้อย, ระดับกลางแรงดันมาก, ระดับต่ำแรงน้อย

" น้ำ คือส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต "



ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 2





- เมื่อปิดฝาขวดจะทำให้น้ำในขวดไม่ไหลออก
- เมื่อเปิดฝาขวดแรงดันอากาศจะดันน้ำทำให้เกิดเป็นน้ำพุ 
- เพราะอะไรทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้น คือ น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำทำให้น้ำไหลแรงมากขึ้น 

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3

- สบู่ทำให้แรงตึงผิวขาด ทำให้น้ำมีแรงบีบตัวไปข้างหน้าโฟมจึงเคลื่อนตัวพุ่งไปข้างหน้า

กิจกรรม 4  เรื่องของอากาศ คุณสมบัติอากาศจากแรงดึงดูด
สิ่งประดิษฐ์จากกระดาษและคลิปหนีบกระดาษ เลียนแบบลูกยาง
- จะรู้ได้ไงว่าต้องพับแค่ไหนถึงจะร่อนลงได้นาน เหมือนลูกยาง



ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ 5 ไหมพรหมเต้นระบำ









- แจกหลอดคนละ 1 อัน แจกไหมพรหมให้ร้อยใส่หลอด






- ให้เปาลมไปในหลอดที่ร้อยด้วยไหมพรหม "ลม" ที่ออกไปด้านปลายหลอดจะทำให้ไหมพรหมลอยขึ้นตามแรงของลมที่เราเปาเข้าไป
- กิจกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า "ลม" มีแรงดันให้วัตถุเคลื่อนที่ได้

กิจกรรมที่ 6 ทดลองเรื่องเทียนไข




Skill (ทักษะ) : การวิเคราะห์,สังเคราะห์,การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม
Adoption (การนำไปใช้) : นำไปใช้เป็นกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): สื่ออุปกรณ์ในการทดลอง , การใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษารู้จักเอาความคิดออกมาใช้วิเคราะห์ให้สมเหตุสมผล , 
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและจดบันทึกตลอดคาบเรียน
เพื่อน ให้ความร่วมมือในการทำการทดลองได้ดี
อาจารย์ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนใช้คำพูดที่เข้าใจได้ง่าย
ห้องเรียน สะอาดเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม 2558

Lesson 10


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 
ระดมความคิดในการเลืกว่าจะทำอะไร ในหมวด Cooking ภายในกลุ่ม

"หวานเย็นชื่นใจ"

แนวคิดกิจกรรม โดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมืาอนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง



Skill (ทักษะ) : ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่ม
Adoption (การนำไปใช้) : สอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): การยกตัวอย่างและชี้แนวทางในการเลือกสิ่งที่จะปฏิบัติในกิจกรรม
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง ให้ความร่วมมือในกลุ่ม
เพื่อน มีควาสามัคคีในการทำงาน
อาจารย์  อธิบายได้อย่างเข้าใจ
ห้องเรียน เรียบร้อยดี

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558

Lesson 9


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 

นำเสนอบทความ
นางสาวสุทธิกานต์ กางพาพันธ์ เสนอเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2556 "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"
จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และองค์กรเครือข่ายต่างๆ สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิดและลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย 
กิจกรรมในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมกันหาคำตอบจาดคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงานจึงมุ่งหวังให้เด็กๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยมองเห็นประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
กิจกรรมกวานเย็นชื่นใจ
เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำปละน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลียนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

และยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายสามารถติดตามได้ที่ลิ้งค์ด้านซ้ายมือคะ

นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค
ว่ามีความแตกต่างจาดจากเซ็คของเรายังไง และอธิบายหลักวิทยาศาสตร์ในการเล่นของเล่น

Skill (ทักษะ) : การวิเคราะห์ , สังเคราะห์ ความรู้
Adoption (การนำไปใช้) : การคิดไอเดียใหม่ๆ ในการประดิษฐ์ของเล่น
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ใช้คำถามให้คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
Evaluation  (การประเมิน) :
ตัวเอง มาเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน ตั้งใจเรียนให้ความคิดเห็นได้ดี
อาจารย์ อธิบายให้ความรู้ได้ละเอียดและชัดเจน
ห้องเรียน  สะอาดเรียบร้อยดี

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

Lesson 7



Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) :


 ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้

ชื่อ ดอกไม้เริงลม

อุปกรณ์

กระดาษ ,ลวด ,หลอด ,ลูกปัด



ขั้นตอนการทำ

1.ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วคลี่ออกจะได้รอยกากบาท


2.ตัดตามรอยพับขึ้นมา 3 ใน 4 ส่วน


3.นำรวดทิ่มรูตรงกลางขึ้นมา



4.ใส่ลูกปัดลงไปหนึ่งลูก



5.ค่อยๆ จับปลายกระดาษจิ้มผ่านลวดตรงกลางไล่ไปจนครบทั้งสี่ด้าน



6.จากนั้นใส่หลอดที่ตัดมาเล็กๆ ตามด้วยลูกปัดแล้วดัดลวดลงมาเพื่อไม่ให้หลุด


7.ใส่ลูกปัดด้านหลังหนึ่งเม็ด


8.ใส่หลอดแล้วเก็บปลายลวดที่เหลือโดยการพันรอบหลอดเป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อยค่ะ

"ดอกไม้เริงลม"


วิธีเล่น
           ถือดอกไม้เริงลมไว้ข้างหน้า โดยหันเข้าหาลมแล้ววิ่ง ดอกไม้จะได้หมุนได้ หรือเอาดอกไม้ไปจอพัดลมก็ได้เช่นกัน

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

          ดอกไม้เริงลม คือ กังหันลม จะหมุนได้เมื่อมีกระแสลมพัดมาปะทะกับใบพัดกังหัน ทำให้เกิดการหมุนรอบแกนขึ้น  ลม เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ


Skill (ทักษะ) : งานฝีมือในการประดิษฐ์
Adoption (การนำไปใช้) : นำไปใช้สอนวิทยาศษสตร์สอดแทรกไปกับการเล่นของเล่นเพื่อที่เด็กได้เข้าใจในเรื่องวิทยศาสตร์ได้มากขึ้นเห็นภาพจริง
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): ใช้คำถามให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
Evaluation  (การประเมิน) : 
ตัวเอง เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมสื่อของเล่นมาเรียบร้อยในการพรีเซ้นงาน
เพื่อน ตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอผลงานดี
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา พูดจาไพเราะ
ห้องเรียน เรียบร้อยดี

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึการเรียนประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

Lesson 6


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) : 



 การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย
สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของสมองซีกซ้ายของร่างกาย โดยสมองซีกขวาจะทำงานในในหน้าที่ตามแนวทางที่สร้างสรรค์ จินตนาการทางด้านศิลปะ ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกขวามักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ 
1. ศิลปะแขนงต่าง ๆ 
2. งานที่เกี่ยวกับอารมณ์ขัน
3. การใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไม่สลับซับซ้อน
4. การศึกษาความคิดในเชิงปรัชญา
5. การจัดสวนหรือปรับแต่งต้นไม้ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
6. ความสารถในงานฝีมือ และงานประดิษฐ์
7. งานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ จิตรกร การออกแบบ งานประเภทครีเอทีฟโฆษณา
8. รักการอ่าน การเขียนหนังสือ มีความสามารถแต่งแต้มจินตนาการลงในงานเขียนได้เป็นอย่างดี
9. ประเภทศิลปิน ดารา นักแสดง ซึ่งที่มักต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งทางร่างกายและคำพูด


สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของสมองซีกขวาของร่างกาย โดยสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออก และทำหน้าที่ในการคิดอย่างมีสามัญสำนึก เป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกซ้ายมักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. การพูดโน้มน้าวจิตใจคน 
2. การตีความหมายของภาษา
3. การวิเคราะห์เวลาและความเสี่ยง
4. อาชีพที่ต้องใช้การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลข
5. การจัดหมวดหมู่ การแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ
6. ผู้บริหารที่ต้องจัดการวงแผนอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอน
7. งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
8. นักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนและขา
9. อาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ศัลยกรรมแพทย์ วิศวกร


การทำงานของสมองจะทำงานเมื่อมีสิ่งเร้ามาสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เซลล์สมองจะเพิ่มมากขึ้น

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ 
1.มีความแตกต่างกัน
2.มีการเปลี่ยนแปลง
3.มีการปรับตัว
4.มีการพึ่งพาอาศัยกัน
5.มีความสมดุล


บิดาการศึกษาปฐมวัย คือ เปสตาลอซซี่ ( Pestalozzi)





เปสตาลอซซี่ ( Pestalozzi) มีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่าง 
ปีค.ศ.1746ถึง1827เปสตาลอซซี่เป็นนักการศึกษาชาวอิตาเลี่ยน-สวิสเซอร์แลนด์ซึ่งทฤษฎีทางการศึกษาที่คิดนั้นได้กลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เปสตาลอซซี่ได้รับอิทธิพลด้านความคิดจากรุสโซ เปสตาลอซซี่



การเรียนรู้อย่างมีความสุข
1.เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
2.การเรียนรู้แบบองค์รวมครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน

สรุปหลักการจัดการศึกษา
   พัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติจริง
- เรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กๆ
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.มีระเบียบรอบคอบ
6.ความใจกว้าง

ความสำคัญ
- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้งประสบการณ์

ประโยชน์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้



Skill (ทักษะ) : คิดวิเคราะห์,ระดมความคิด,การเชื่อมโยงความรู้
Adoption (การนำไปใช้) : เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): บรรยาย ,สื่อPowerpoint ,กราระดมความคิด 
Evaluation  (การประเมิน):
ตัวเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและช่วยออกความคิดเห็นระดมความคิดกับเพื่อนๆในชั้นเรียน
เพื่อน ตั้งใจเรียนดีให้ความร่วมมือในการระดมความคิด
อาจารย์ บรรยายและยกตัวอย่างไดเข้าใจ มีการถามเพื่อให้นักศึกษารู้จักการใช้ความคิดของตัวเองออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ห้องเรียน เรียบร้อยดี สะอาด แอร์เย็น

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 01 กันยายน 2558

Lesson 4

เข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
ในหัวข้อ "ทักษะการเรียนรู้ในศตรรษที่ 21"



 Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ) :











           การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา  รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น  โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)



Skill (ทักษะ) :การฟังและทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้บรรยายสื่อให้รับรู้
Adoption (การนำไปใช้) : ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัยในศตวรรษที่ 21 
Teaching  Techniques (เทคนิคการสอน): บรรยายประกอบสื่อใน Powerpoint
Evaluation  (การประเมิน): สื่อในการบรรยายดูแล้วเข้าใจง่าย อธิบายได้ชัดเจน สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้